เว็บตรง / บาคาร่าเว็บตรง รฟม. ทำการประกาศถึงการเปิดให้บริการ ที่จอดรถอัตโนมัติ ‘Robot Parking’ ณ สถานีห้วยขวาง แล้วภายในวันนี้ คิดค่าบริการ 50 บาท/ 1 ชม. (กรณีไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า) วันนี้ (8 ตุลาคม 2564) นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการ ที่จอดรถอัตโนมัติ – “Robot Parking” แห่งที่สอง บริเวณลานจอดรถ สถานีห้วยขวาง โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) โครงการที่จอดรถจักรยานยนต์ และโครงการให้บริการสมัครและต่ออายุการใช้บริการจอดรถยนต์รายเดือนแบบออนไลน์ ณ บริเวณลานจอดรถ สถานีห้วยขวาง การให้บริการที่จอดรถอัตโนมัติได้เริ่มแห่งแรกที่สถานีสามย่าน
โดยเมื่อผู้ใช้บริการนำรถเข้ามาจอดจะมีเครื่องกลทำหน้าที่เสมือนหุ่นยนต์รับรถขึ้นไปจอดในลักษณะซ้อนกันในแนวดิ่ง
ทำให้จอดรถได้มากขึ้น อีกทั้งใช้เวลาเฉลี่ยในการรับ – ส่งรถ เข้าและออกจากที่จอดรถเพียงคันละ 90 วินาที และหากรถจอดชั้นไกลที่สุดจะใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ระบบจอดรถดังกล่าวยังมีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ รฟม. ยังคงคิดอัตราค่าบริการที่จอดรถตามปกติ
– กรณีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าคิดอัตราค่าจอดรถ 15 บาท ต่อ 2 ชั่วโมง
– ผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า คิดอัตราค่าจอดรถ 50 บาท ต่อ 1 ชั่วโมง
สำหรับผู้ใช้บริการที่จอดรถรายเดือน คิดอัตราค่าจอดรถ 2,000 บาทต่อเดือน และเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 – 01.00 น. (เวลาเปิดปิดให้บริการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศจากทางศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)
นอกจากนี้ รฟม. ยังเปิดให้บริการที่จอดรถจักรยานยนต์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
– เส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ณ ลานจอดรถสถานีห้วยขวาง สามารถรองรับจำนวนรถจักรยานยนต์ได้ 218 คัน คิดอัตราค่าบริการ 5 บาทต่อ 4 ชั่วโมง
– เส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ณ อาคารจอดรถสถานีคลองบางไผ่ (จอดในร่ม) สามารถรองรับจำนวนรถจักรยานยนต์ได้ 416 คัน คิดอัตราค่าบริการ 10 บาทต่อ 4 ชั่วโมง
นอกจากการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่จอดรถแล้ว รฟม. ยังมุ่งพัฒนาระบบการให้บริการที่จอดรถที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ในยุค New Normal พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการในการใช้เทคโนโลยีของประชาชน ด้วยการคิดค้นแอปพลิเคชัน MRTA Parking ภายใต้โครงการให้บริการสมัครและต่ออายุการใช้บริการจอดรถยนต์ รายเดือนแบบออนไลน์
โดยผู้ใช้บริการสามารถสมัคร หรือต่ออายุบัตรจอดรถรายเดือน รวมถึงชำระค่าบริการจอดรถแบบรายเดือนได้ “ครบจบภายในแอปเดียว” ตลอดจนสามารถรับทราบข้อมูลที่จอดรถว่างและข้อมูลประชาสัมพันธ์ของ รฟม. ได้อีกหนึ่งช่องทาง อันเป็นการช่วยลดการเดินทางและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้แล้ว ซึ่งรองรับได้ทั้งระบบปฏิบัติการแบบ android และ ios
คนกินเจอึ้ง! สุ่มตรวจอาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ ปนเปื้อน DNA เนื้อสัตว์ 17.5%
คนกินเจอึ้ง! กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจอาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ 57 ตัวอย่างในกรุงเทพและปริมณฑล พบปนเปื้อน DNA เนื้อสัตว์ 17.5% นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจเฝ้าระวังอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลกินเจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2564 ได้มีการเฝ้าระวังทั้งปี
โดยแบ่งอาหารเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ อาหารประเภทเส้น และผักผลไม้สดจากตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลรวมจำนวน 93 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า อาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ เช่น เป็ดเจ หมูสามชั้นเจ ลูกชิ้น ปลาเค็ม ไส้กรอก จำนวน 57 ตัวอย่าง ตรวจพบ ดีเอ็นเอ (DNA) ของเนื้อสัตว์ปนเปื้อน จำนวน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.5
อาหารประเภทเส้น เช่น วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ จำนวน 15 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบ กรดซอร์บิก ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหารประเภทนี้ แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิก จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 60 ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 304-855 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก เป็นวัตถุกันเสียที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ มีความเป็นพิษต่ำ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงมากอาจทำให้เกิดอันตรายได้สำหรับผู้แพ้สารนี้ เช่น เกิดผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น
ผักและผลไม้สด เช่น คะน้า ขึ้นฉ่าย ถั่วฝักยาว แครอท มะเขือเทศ ส้ม แอปเปิ้ล มันญี่ปุ่น จำนวน 21 ตัวอย่าง ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในส้มและแอปเปิ้ล จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.8 เว็บตรง / บาคาร่าเว็บตรง